วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานปล่อยแสง 3 คิด ทำ กิน ที่ TCDC

ผลงานที่ชอบ


ผลงานการออกแบบของพงศ์ภัทร เผือกวัฒนะ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นำเสนอสื่อวีดีทัศน์สารคดีสั้น

เรื่อง Post Rock A Documentary Film ในบูธมีการจัดวางตัวอักษรชื่องานอย่างเรียบง่าย

มีกีต้าร์ไฟฟ้าตั้งอยู่ข้างๆโทรทัศน์อยู่หนึ่งตัว หูฟังสำหรับสองคน 


สารคดีเริ่มต้นด้วยการ การสัมภาษณ์ผู้รู้ในวงการเพลงหลายท่าน ทั้งดีเจ นักดนตรีและเจ้าของค่ายเพลง

โดยฉายบทสัมภาษณ์สลับกับภาพการบรรเลงเพลงโดยวงดนตรี มิวสิควีดีโอ และภาพของบรรยากาศตาม

ธรรมชาติที่เข้ากับท่วงทำนองเพลง สารคดีจบด้วยการเปิดเพลงบรรเลง ที่ทำให้คนดูรู้สึกประทับใจ


เนื่องด้วยข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในผู้เสพงานดนตรีโพสต์ร็อค ข้าพเจ้าจึงเข้าใจและรับรู้ได้ถึงความรู้สึกและความตั้งใจที่

เจ้าของผลงานใส่ใว้ในงาน อีกทั้ง็เป็ผลงานยังมีความลงตัวในด้านการตัดต่อ ลำดับภาพและเสียง มีมุมกล้องที่สวยงาม

อารมณ์ของดนตรีที่สะท้อนออกมาจากภาพ ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ข้าพเจ้าประทับใจที่สุด

ในบรรดาผลงานทั้งหมดในงานปล่อยแสง 3




ผลงานการออกแบบของภาพแพรว รัตรสาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นำเสนอสื่อประสมระหว่างเว็บเพ็จและอินเทอแอ็คทีฟ หัวข้อ ตัวพิมพ์ ว่าด้วยเรื่องราวของตัวโน็ตทางดนตรี
และตัวพิมพ์ไทย ที่ถูกแทนสัญลักษณ์ด้วยเสียง ในบูธมีป้ายชื่องานและคำอธิบายธีมงานติดอยู่
ด้านล่างเป็นคอมพิวเตอร์ที่เว้นที่ไว้สำหรับผู้ชม สามารถใช้เม้าท์เล่นคอมพิวเตอร์ได้ และหูฟังสำหรับหนึ่งคน

หน้าแรกจะเป็นรูปสัญลักษณ์ทางดนตรีบนบรรทัดห้าเส้น เมื่อนำเม้าท์ไปวางที่รูปสัญลักษณ์
จะปรากฎแถบคำอธิบายต่างๆ เมื่อคลิกเข้าไปจะมีข้อมูล มีวิธีใช้คล้ายกับเว็บเพ็จ ยกตัวอย่างข้อมูล
เช่น ขนาดและลักษณะของตัวอักษรสามารถนำมาแทนลักษณะของเสียงดนตรีได้ อย่างตัวอักษรจีน
อาจมีเสียงเป็นเครื่องดนตรีจีน หรือ ตัวอักษรแบบบาง อาจมีเสียงทางดนตรีที่เบา เป็นต้น บางหน้าของเว็บสามารถ
ให้เราเล่นไปกับจังหวะการวางตัวอักษรและเสียงที่เกิดขึ้น หรือ ฟังเพลงบรรเลงจากตัวอักษรตระกูลต่างๆกัน
และมีเสียงสัมภาษณ์เรื่องตัวอักษรจากนักออกแบบอักษรและนักออกแบบกราฟิกด้วย

ข้าพเจ้าชอบผลงานชิ้นนี้เพราะ เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่ผู้ออกแบบนำของสองอย่างที่ต่างกันมาก มาผสมผสาน
และหาจุดที่พอจะเชื่อมของสองอย่างนี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัว มีกระบวนการคิดงานอย่างมีที่มาที่ไป เป็นศิลปะประยุกต์
ที่ให้แนวทางใหม่ๆทางศิลปะ ข้าพเจ้าเคยเห็นผลงานที่เกี่ยวกับตัวโน็ตมาบ้าง และผลงานนี้ก็เป็นหนุ่งในงานที่ลงตัว
สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้า อยากที่จะทำผลงานที่ดีต่อไป

ผลงานการออกแบบของวิพาสน์พร ศรีพุ่ม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นำเสนอการออกแบบผลิตภัณฑ์จากซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ภายใต้หัวข้อ Electronic Waste Is Not Quite ‘Waste’

ในบูธมีป้ายชื่องานพร้อมซากอุปกรณ์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเลคทารนิกส์สีขาวติดรวมๆกันบนผนัง

ด้านล่างจัดวางเครื่องประดับหน้าตาประหลาดที่ทำจากชินส่วนภายในของซากเครื่องใช้เหล่านั้น


เครื่องประดับที่นำเสนอมีทั้งกำไลข้อมือ แหวน หรือสร้อยคอที่ล้วนมาจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์

ทำให้รูปร่างของเครื่องประดับมีหน้าตาแปลกออกไป ด้านล่างเครื่องประดับจะมีป้ายกำกับว่า

แต่ละชิ้นมาจากซากวัสดุที่เป็นอันตรายและอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษได้อย่างไร


จากทรวดทรงที่แปลกตาทำให้ข้าพเจ้าประทับใจและอยากจะมีเครื่องประดับเหล่านี้ไว้ใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง

จากของที่เป็น ‘ซาก’ อีกทั้งยังจัดเป็นของที่เป็นขยะมลพิษที่ล้นโลก ถูกนำมาผสมผสานให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ

นำเสนอในรูปแบบของเครื่องประดับ นอกจากจะเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าอีกนัยหนึ่ง

ผู้ออกแบบอยากจะบอกว่า ขยะเหล่านี้ มีมากจนสามารถเอามาทำเป็นเครื่องประดับที่มนุษย์ใช้ตกแต่งตนเองได้แล้ว

ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะเครื่องประดับในโลกใบนี้ มีหลากหลายมาก หากขยะอิเลกทรอนิกส์นี้

มีจำนานมากเท่าเครื่องประดับจริง ก็นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกันว่าต่อไปในอนาคต

โลกใบนี้ จะดำรงค์อยู่ได้อีกนานเท่าไรกัน

Cotton USA T-Shirt Design

ฝ้ายปลิ้ว


แนวความคิด คือ ดอกฝ้ายที่ปลิ้วไปตามกระแสลม จะให้ความรู้สึกบางเบาและปลอดโปร่ง

ความรู้สึกนี้ เราก็สามารถสัมผัสได้เวลาที่ใส่เสื้อผ้าฝ้ายเหมือนกัน

จึงเลือกใช้ คว่า 100% Cotton มาผสมกับลักษณะการปลิ้วของเส้นใยดอกฝ้าย

ให้รู้สึกถึงธรรมชาติความเป็นฝ้ายมากที่สุด