วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฮีโร่ของฉัน

ทิม เบอร์ตัน
อัจฉริยะแห่งอารมณ์ขันหม่นมืด


"สำหรับผม โลกนี้เป็นสีเทา
เป็นสถานที่ซึ่งความดีความชั่วผสมผสานกัน
และมันก็เป็นสีเท่าเข้มขึ้นเรื่อยๆ
ผมชอบเทพนิยาย และความนึกคิดเกี่ยวกับเทพนิยาย
แต่ละเรื่องในตัวเราแต่ละคนจะแตกต่างกันไป
และผมอยากจะทำเทพนิยายให้มันบริสุทธิ์ที่สุด"

หลายคนมักตั้งข้อสังเกตถึงความอึมครึมในผลงานของทิม เบอร์ตันอยู่เสมอ เมื่อนึกถึงเขา เรามักจะนึกถึงความตาย
ความพิการ ความโศกเศร้า ความหดหู่ รวมถึงการยั่วล้อเสียดสี อันเป็นศูนย์รวมความหม่นมืดทั้งหลาย
แต่สเน่ห์ของทิม เบอร์ตัน คือการที่เขานำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ ด้วยอารมณ์ขันรื่นรมย์

ทิม เบอร์ตันเคยให้สัมภาษณ์ถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อเรื่องเหล่านี้ว่า เขาไม่เคยคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องรันทดหดหู่
ทุกอย่างเป็นในอย่างที่มันเป็น ถึงมันจะดูรันทดสลดใจสำหรับใคนบางคน คงเพราะผู้คนเหล่านั้นแต่งเติมความคิดของตนลงไป
สำหรับเขาแล้วความน่าเกลียดทั้งหลายคืออีกรูปแบบหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ ในความอัปลักษณ์มีความงาม
และในความงามก็อาจจะมีความอัปลักษณ์ สองสิ่งนี้เป็นเหมือนส่วนประกอบของกันและกันที่ทำให้ศิลปะสมบูรณ์

Timonthy William Burton เป็นศิลปินร่วมสมัยที่ประสบความสำเร็จสูงมากคนหนึ่ง
เขาเป็นทั้งผู้กำกับภาพยนตร์, โปรดิวเซอร์, นักเขียน, คนวาดการ์ตูนและช่างภาพ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1958
ในย่านเบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีความหลังฝังใจวัยเด็กกับการ์ตูนและหนังสยองขวัญเก่าๆ อย่างมาก
แรงบันดาลใจในยุคแรกๆ ของเขา มาจากสัตว์ประหลาดอย่างก็อตซิลล่า หรือไม่ก็นักแสดงอย่างวินเซ็นต์ ไพรซ์
ทำให้เขามุ่งมั่นอยากเป็นคนวาดการ์ตูนที่เคลื่อนไหวได้ เขาจึงตัดสินใจเรียน Character Animation program
ที่ California Institute of the Arts ด้วยทุนการศึกษาของวอลต์ ดีสนีย์

เมื่อเรียนจบในปี 1979 เขาก็เข้าทำงานในสตูดิโอของวอลต์ ดีสนีย์ ทำให้เขามีโอกาสได้แสดงฝืมือในภาพยนตร์หลายเรื่อง
อาทิ The Fox and the Hound และ The Black Cauldron นอกจากนี้ เขายังมีโอกาส
กำกับผลงานสต็อปโมชั่นเป็นครั้งแรก ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง Vincent ที่เบอร์ตันตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อสดุดีวินเซ็นต์ ไพรซ์
ดาราหนังสยองขวัญซึ่งเป็นขวัญใจตั้งแต่วัยเด็กของเขาโดยเฉพาะ เบอร์ตันลงทุนพากษ์เสียงของไพรซ์ด้วยตนเอง
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ประสบความสำเร็จมากในหมู่นักวิจารย์ ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย

ทิม เบอร์ได้กล่าวถึงภาพยนตร์สั้นเรื่อง Vincent ของเขาว่า "สำหรับสตูดิโอดีสนีย์ ที่ชอบทำหนังสัตว์โลกแสนน่ารัก
การที่เขาให้โปรเจ็กต์หนังเรื่องนี้ของผมผ่านได้ ก็ถือว่าเขาใจกว้างกับผมมากที่สุดแล้ว เพราะช่วงที่ผมทำงานอยู่ที่นี่
ผมรู้สึกว่าตัวเองวาดการ์ตูนไม่ดีเลย ดิสนีย์ชอบให้พวกเราวาดการ์ตูนตาโตๆ
แต่การ์ตูนที่ผมอยากวาดจริงๆ น่ะ ผมไม่อยากให้มันมีดวงตาเลยล่ะ"

ในปี 1982 ทิม เบอร์ตันเขียนภายนตร์ล้อเลียนกวีนิพนธ์อันมีชื่อเสียงของคลีเมนต์ คลาก มัวร์ ออกมา 3 หน้ากระดาษ
โดยใช้ชื่อว่า "The Nightmare Before Christmas" โดยเบอร์ตัน สเก็ตช์ภาพวาดลายเส้นและสตอรี่บอร์ด
ทุกฉากทุกตอนแล้วหาคนมาทำเป็นหุ่นสามมิติ ชื่อแจ๊ก สเคลลิงตัน พระเอกของเรื่อง แล้วนำโปรเจ็กต์ไปเสนอ
ตามสถานีโทรทัศน์ต่างๆ หลายแห่งแต่ไม่ผ่านเลยแม้แต่แห่งเดียว เบอร์ตันพับโครงการนี้ไว้เป็นสิบปี
ก่อนที่จะปัดฝุ่นเอามาทำใหม่ หลังจากที่เขามีเครดิตอย่างสูง จากภาพยนตร์เรื่อง Batman เมื่อปี 1989

ผลงานเรื่องต่อมาของทิมที่ทำกับดีสนีย์เป็นภาพยนตร์สารคดีขาว-ดำ ความยาว 30 นาที เรื่อง Frankenweenie
ในปี 1984 เป็นความพยายามครั้งแรกเล็กๆ ของเขา ในการเล่าเรื่องฟื้นคืนชีพแบบแฟรงเกนสไตน์
เนื่อหาในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งที่พยายามชุบชีวิตหมาแสนรักของตน
ด้วยเหตุนี้เอง ใครบางคนจึงตั้งฉายาให้เขาด้วยว่าเป็น "ด้านมืดของวอลต์ ดีสนีย์"

บุคลิกตัวละครเอกในผลงานของทิม เบอร์ตัน แม้จะแตกต่างกันไปตามเนื้อหาของเรื่อง แต่จะมีลักษณะร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
มักจะแฝงความแอนตี้ฮีโร่ไว้ด้วยเสมอ กล่าวคือ ฮีโร่ของเขามักจะซุ่มซ่าม เด๋อด๋า ไม่หล่อ ไม่เท่ห์ ไม่เก๋ไก๋
ไม่มีคุณสมบัติเลิศเลอเพอร์เฟ็คต์เหมือนฮีโร่ทั่วๆ ไป ลึกๆ แล้วฮีโร่ของเขาออกจะหดหู่ดูน่าสงสารอยู่ไม่น้อย
ทิม เบอร์ตันเคยให้สัมภาษณ์ถึงความคิดของเขาว่า เขารู้สึกไว้วางใจในความบกพร่องมากกว่าความสมบูรณ์แบบ
เขาบอกว่า "ผมคิดว่าฮีโร่แท้ๆ นั้นสามารถมีข้อบกพร่องได้และในขณะเดียวกัน คนที่มีข้อบกพร่องในตัวมากมาย
ก็สามารถเป็นฮีโร่กับเขาได้เหมือนกัน" และดูเหมือนว่า ความคิดนี้ จะมีอยู่ในผลงานของเขาแทบทุกชิ้น

แก่นสารในผลงานของทิม เบอร์ตัน มักวนเวียนอยู่กับความตาย ความเศร้า รวมถึงความชั่วร้ายไร้เดียงสาบางคนจึงเรียกเขาว่า
"อัจฉริยะแห่งอารมณ์ขันหม่นมืด" ด้วยเขามักขุดควานไปในความชั่วร้ายทั้งหลายแล้วนำมาเสกสรรค์ปันแต่งใหม่ในสไตล์ของเขา

ทิม เบอร์ตันกล่าวว่า ผู้คนมักพูดถึงด้านมืดของเขาอยู่เสมอ โดยตัวเขาเองก็ไม่เคยรู้คำตอบที่แท้จริงนัก ที่ว่ามืดนั้น
มันคืออะไรกันแน่ เขาบอกว่า ด้านมืดโดยแท้จริง น่าจะเป็นอย่างรายการ American's Funniest Home Video
รายการตลกจากเรื่องจริงเช่นภาพวิดีโอเด็กหรือคนแก่ประสบอุบัติเหตุในท่วงท่าชวนขบขัน
ที่ผู้คนชอบดูและหัวเราะสนุกกับภาพเหล่านั้น

"ผมอ่อนไหวกับภาพชีวิตที่หดหู่หม่นมืดและในงานของผมก็มักหยิบเรื่องข้อบกพร่องของมนุษย์มาเล่นก็จริง
แต่ผมก็แค่หยอกเย้าเสียดสีมันเล็กๆ น้อยๆ ผมแค่พยายามให้มันมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้างเท่านั้น
และความจริงแล้ว ผมเป็นแค่คนเขียนหนังสือเด็กเท่านั้นเอง"

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Eco-Design ฉลากเขียว



Concept : ช้าง
แนวความคิด : แนวคิดนี้เกิดจาก ความคิดที่อยากจะหยิบสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทย มาทำให้เป็น

สัลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์ของประเทศ ช้างจึงมีความเหมาะสมอย่างมาก เพราะเป็นสัตว์สัลักษณ์
ของเป็นประเทศไทยและอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงเอารูปทรงของช้างมาตัดทอนและผสมเข้า

กับต้นอ่อนของต้นไม้ ถ้ามองเฉพาะส่วนสีเทาจะเห็นช้างมีงวงยาวลงมา แต่ถ้ามองรวมๆจะเห็นเป็น
รูปต้นอ่อนของต้นไม้


Concept : เพื่อนกัน
แนวความคิด : การปลูกฝังเรื่องสิ่งแวดล้อมในตัวบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ หากบุคคลตระหนักว่าเราและ
ธรรมชาติก็เปรียบเสมือนเพื่อนร่วมโลกที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ข้าพเจ้าจึงออกแบบให้สัญลักษณ์
เป็นรูปคนและต้นไม้ยืนกอดคอกันอย่างร่าเริง เพื่อสื่อถึงคำว่า “เพื่อนกัน”


Concept : รัก
แนวความคิด : สัญลักษณ์มือ เป็นภาษาที่ผู้รับสาร สามารถเข้าใจได้เองโดยที่ผู้ส่งสาร ไม่ต้องสื่อสาร
และด้่วยลักษณะกิ่งก้านของต้นไม้ ข้าพเจ้าจึงนำสัญลักษณ์มือที่สื่อถึง “ความรัก” มารวมเข้ากับต้นไม้
เป็นต้นไม้ที่มีกิ่งก้านรูปสัญลักษณ์มือคนว่ารักต้นไม้

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานปล่อยแสง 3 คิด ทำ กิน ที่ TCDC

ผลงานที่ชอบ


ผลงานการออกแบบของพงศ์ภัทร เผือกวัฒนะ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นำเสนอสื่อวีดีทัศน์สารคดีสั้น

เรื่อง Post Rock A Documentary Film ในบูธมีการจัดวางตัวอักษรชื่องานอย่างเรียบง่าย

มีกีต้าร์ไฟฟ้าตั้งอยู่ข้างๆโทรทัศน์อยู่หนึ่งตัว หูฟังสำหรับสองคน 


สารคดีเริ่มต้นด้วยการ การสัมภาษณ์ผู้รู้ในวงการเพลงหลายท่าน ทั้งดีเจ นักดนตรีและเจ้าของค่ายเพลง

โดยฉายบทสัมภาษณ์สลับกับภาพการบรรเลงเพลงโดยวงดนตรี มิวสิควีดีโอ และภาพของบรรยากาศตาม

ธรรมชาติที่เข้ากับท่วงทำนองเพลง สารคดีจบด้วยการเปิดเพลงบรรเลง ที่ทำให้คนดูรู้สึกประทับใจ


เนื่องด้วยข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในผู้เสพงานดนตรีโพสต์ร็อค ข้าพเจ้าจึงเข้าใจและรับรู้ได้ถึงความรู้สึกและความตั้งใจที่

เจ้าของผลงานใส่ใว้ในงาน อีกทั้ง็เป็ผลงานยังมีความลงตัวในด้านการตัดต่อ ลำดับภาพและเสียง มีมุมกล้องที่สวยงาม

อารมณ์ของดนตรีที่สะท้อนออกมาจากภาพ ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ข้าพเจ้าประทับใจที่สุด

ในบรรดาผลงานทั้งหมดในงานปล่อยแสง 3




ผลงานการออกแบบของภาพแพรว รัตรสาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นำเสนอสื่อประสมระหว่างเว็บเพ็จและอินเทอแอ็คทีฟ หัวข้อ ตัวพิมพ์ ว่าด้วยเรื่องราวของตัวโน็ตทางดนตรี
และตัวพิมพ์ไทย ที่ถูกแทนสัญลักษณ์ด้วยเสียง ในบูธมีป้ายชื่องานและคำอธิบายธีมงานติดอยู่
ด้านล่างเป็นคอมพิวเตอร์ที่เว้นที่ไว้สำหรับผู้ชม สามารถใช้เม้าท์เล่นคอมพิวเตอร์ได้ และหูฟังสำหรับหนึ่งคน

หน้าแรกจะเป็นรูปสัญลักษณ์ทางดนตรีบนบรรทัดห้าเส้น เมื่อนำเม้าท์ไปวางที่รูปสัญลักษณ์
จะปรากฎแถบคำอธิบายต่างๆ เมื่อคลิกเข้าไปจะมีข้อมูล มีวิธีใช้คล้ายกับเว็บเพ็จ ยกตัวอย่างข้อมูล
เช่น ขนาดและลักษณะของตัวอักษรสามารถนำมาแทนลักษณะของเสียงดนตรีได้ อย่างตัวอักษรจีน
อาจมีเสียงเป็นเครื่องดนตรีจีน หรือ ตัวอักษรแบบบาง อาจมีเสียงทางดนตรีที่เบา เป็นต้น บางหน้าของเว็บสามารถ
ให้เราเล่นไปกับจังหวะการวางตัวอักษรและเสียงที่เกิดขึ้น หรือ ฟังเพลงบรรเลงจากตัวอักษรตระกูลต่างๆกัน
และมีเสียงสัมภาษณ์เรื่องตัวอักษรจากนักออกแบบอักษรและนักออกแบบกราฟิกด้วย

ข้าพเจ้าชอบผลงานชิ้นนี้เพราะ เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่ผู้ออกแบบนำของสองอย่างที่ต่างกันมาก มาผสมผสาน
และหาจุดที่พอจะเชื่อมของสองอย่างนี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัว มีกระบวนการคิดงานอย่างมีที่มาที่ไป เป็นศิลปะประยุกต์
ที่ให้แนวทางใหม่ๆทางศิลปะ ข้าพเจ้าเคยเห็นผลงานที่เกี่ยวกับตัวโน็ตมาบ้าง และผลงานนี้ก็เป็นหนุ่งในงานที่ลงตัว
สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้า อยากที่จะทำผลงานที่ดีต่อไป

ผลงานการออกแบบของวิพาสน์พร ศรีพุ่ม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นำเสนอการออกแบบผลิตภัณฑ์จากซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ภายใต้หัวข้อ Electronic Waste Is Not Quite ‘Waste’

ในบูธมีป้ายชื่องานพร้อมซากอุปกรณ์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเลคทารนิกส์สีขาวติดรวมๆกันบนผนัง

ด้านล่างจัดวางเครื่องประดับหน้าตาประหลาดที่ทำจากชินส่วนภายในของซากเครื่องใช้เหล่านั้น


เครื่องประดับที่นำเสนอมีทั้งกำไลข้อมือ แหวน หรือสร้อยคอที่ล้วนมาจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์

ทำให้รูปร่างของเครื่องประดับมีหน้าตาแปลกออกไป ด้านล่างเครื่องประดับจะมีป้ายกำกับว่า

แต่ละชิ้นมาจากซากวัสดุที่เป็นอันตรายและอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษได้อย่างไร


จากทรวดทรงที่แปลกตาทำให้ข้าพเจ้าประทับใจและอยากจะมีเครื่องประดับเหล่านี้ไว้ใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง

จากของที่เป็น ‘ซาก’ อีกทั้งยังจัดเป็นของที่เป็นขยะมลพิษที่ล้นโลก ถูกนำมาผสมผสานให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ

นำเสนอในรูปแบบของเครื่องประดับ นอกจากจะเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าอีกนัยหนึ่ง

ผู้ออกแบบอยากจะบอกว่า ขยะเหล่านี้ มีมากจนสามารถเอามาทำเป็นเครื่องประดับที่มนุษย์ใช้ตกแต่งตนเองได้แล้ว

ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะเครื่องประดับในโลกใบนี้ มีหลากหลายมาก หากขยะอิเลกทรอนิกส์นี้

มีจำนานมากเท่าเครื่องประดับจริง ก็นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกันว่าต่อไปในอนาคต

โลกใบนี้ จะดำรงค์อยู่ได้อีกนานเท่าไรกัน

Cotton USA T-Shirt Design

ฝ้ายปลิ้ว


แนวความคิด คือ ดอกฝ้ายที่ปลิ้วไปตามกระแสลม จะให้ความรู้สึกบางเบาและปลอดโปร่ง

ความรู้สึกนี้ เราก็สามารถสัมผัสได้เวลาที่ใส่เสื้อผ้าฝ้ายเหมือนกัน

จึงเลือกใช้ คว่า 100% Cotton มาผสมกับลักษณะการปลิ้วของเส้นใยดอกฝ้าย

ให้รู้สึกถึงธรรมชาติความเป็นฝ้ายมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ฟิกเกอร์ #5 หมู่บ้านคนแบน

โครงการใหญ่สุดของคลาสนี้ คือ ทำชุดฟิกเกอร์จากอะไรก็ได้ที่เป็นเซท
ตัวละครแต่ละตัวมีที่มาที่ไป มีอาณาจักรให้อยู่

เราอยากทำเมืองที่ทุกคนหน้าตาไม่เหมือนใคร ไม่เอาแบบน่ารักด้วย
เลยทำเมืองของคนหน้าตาแย่ๆดีกว่า ถนัดอยู่แล้ว

นี่ไงๆ เมืองแบนของเรา

ขอแนะนำ ตัวเอก
คุณมะระ เลี้ยงนกคู่ใจอยู่ตัวหนึ่งชื่อ ก๊าบๆ
มะระใฝ่ฝันอยากเต้นพริ้วได้อย่างนักบัลเล่ต์
ถึงจะใส่ชุดและรองเท้าแบบนักบัลเล่ต์หญิง
แต่มะระเป็นผู้ชายนะ อย่าเข้าใจผิด



คนต่อไป
ป้าน้ำตาลกรวด เรียกสั้นๆว่าป้ากรวด
เปิดร้านขนมอยู่ในหมู่บ้าน เป็นโรคตื่นคน
ถ้ามีใครเดินมาซื้อของจะรีบเก็บร้านทันที
แต่ขนมป้าอร่อยมาก คนจึงแวะเวียนมาให้ป้าผวาบ่อย



คนที่สาม
เด็กชายทุเรียน ชอบเตะตะกร้อ
หมั่นฝึกซ้อมทุกวัน เพื่ออนาคตจะได้เป็น
นักเตะในตำนานของหมู่บ้าน



คนที่สี่
ลุงสี่คิ้ว เกษตรกรของหมู่บ้าน อดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่น
ผู้คลั่งไคล้ขบวนการโกโกไฟว์! พยายามผสมผสานวัฒนธรรม
ความเป็นไทยกับญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน อย่างไม่ค่อยลงตัวนัก



ตัวที่ห้า
หมาของลุงสี่คิ้ว ชื่อหงิด มีหางเหมือนหางกระต่าย
ชอบกินผักใบเขียว เป็นหมาตำรวจผู้ดูแลเมือง
แอบชอบก๊าบๆ นกของมะระอยู่เงียบๆ



แถมให้ ภาพปาปารัสซี่ของก๊าบๆ ที่หงิดฝาก
ลุงสี่คิ้ว ให้ถ่ายให้



ตอนไปเสนออาจารย์ เราทำเป็นดินน้ำมันปั้น แล้วจะทำเปเปอร์มาเช่ให้มันแข็งแรงขึ้น
แต่พอทำแล้ว เสียเวลาเปเปอร์มาเช่มาก หลังจากไปเดินเล่นรอบๆห้องเรียนหนึ่งรอบ
เจอจุดประกาย วิธีการทำแบบใหม่ให้เร็วขึ้น ท๊าดา...ใช้ดินญี่ปุ่น เย็นวันนั้น กลับไป
ซื้อเลย กิโลนึง นั่งปั้นรอแห้งๆเลย เยี่ยม! (จะได้เจียดเวลาไปทำวิชาอื่นบ้าง)

ทิ้งไว้สอง สามวันก็แห้งแล้ว แต่ชุดตุ๊กตาของเราเป็นตัวแบนๆหมดเลยนะ
เหมือนขนมปังขิงน่ะ แต่หน้าตาไม่น่ารักเท่า ก็ตลกดี หมาก็แบน ผักก็แบน
ลูกบอลก็แบน ประชาชนที่อาศัยในอาณาจักรก็แบนกันทั้งเมือง


เราใช้สีอะคลิลิกระบาย ทำอยู่นาน เพราะชิ้นส่วนมันเล็กมาก โดยเฉพาะอมยิ้ม
ทำส่งเกือบไม่ทันแหนะ มัวแต่โมร้านป้ากรวดอยู่ ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่มาช่วยจ้ะ
พอส่งเสร็จ เราก็อุทิศมะระให้กับคณะ T_T ลาก่อนมะระ นายได้ทำหน้าที่ของนายแล้ว

ฟิกเกอร์ #4 คุณเฉื่อย ผู้แสนขี้เกียจ

โจทย์ครั้งนี้คือ ทำฟิกเกอร์อะไรก็ได้ที่เป็นคอนเทมพอเรรี่ที่สะท้อนวัยรุ่นไทย
และสามารถนำไปวางไว้ในที่ๆคนพลุกพล่านได้ (ประมาณนี้ โจทย์เต็มๆจำไม่ได้)
ตอนแรกนึกว่าต้องทำด้านดีๆ ไปเสนอแล้วอาจารย์บอกด้านไหนก็ได้
กลับมานั่งนึกดู วัยรุ่นเนี่ย ด้านลบนึกได้มากกว่าด้านดีซะอีก

เราเลือก "ความขี้เกียจ" มาเป็นหัวข้อ
เราอยากทำฟิกเกอร์ที่รู้สึกหยุ่นๆ ดูหนึบๆ หนืดๆ

ตอนแรกอาจารย์แนะนำว่าให้ใช้เยลลี่ทำ แต่คงยากเพราะขนย้ายลำบาก
ต้องทำแม่พิมพ์ นึกไปนึกมา จากซิลิโคนเลยไปจนถึงกาว กาวนี่แหละเยี่ยมเลย
หลังจากปิดเทอม กลับมานั่งปั่นเลย ซื้อกาวลาเท็กขวดเบิ้มมาเลย
ขึ้นโครงด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ปั้นทากาว อัดกับขวดน้ำเปล่าแบบหกลิตร
ทิ้งไว้จนแห้ง ถอดออกมาก็ทำแขนด้วยกระดาษปั้น เปเปอร์มาเช่รอบๆตัวให้ผิวเรียบ
รอจนแห้ง แล้วเอากาวลาเท็กผสมสีโบะลงไปเลย
เทคนิคใหม่ๆที่ได้คือโบะแล้ว รีบเกลียบให้เรียบ พยายามอย่าแตะมาก
มันจะไม่เรียบ ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมงก็เติมหน้าตาได้เลย

นี่แหละ ตัวขี้เกียจ





เห็นหน้ากันชัดๆแล้ว รู้สึกเฉื่อยๆกันบ้างมั้ย?

ฟิกเกอร์ # 3 ฉันมาจากขยะ

สนุกมากอาทิตย์นี้ มีการเอาขยะที่เก็บสะสมมาทั้งอาทิตย์ มากองรวมกัน
แล้วก็จับฉลากเอาขยะที่จัดไว้ไปทำฟิกเกอร์ ขวัญจับได้กล่องน้ำหอมแบบยาว
รูปร่างคล้ายๆกล่องแปรงสีฟัน ฝาแบรนด์ จุกปลายไม้แขวนเสื้อ ลูกโป่ง และกระดิ่งเล็กๆ


ทันทีเลย ที่เห็นกล่องน้ำหอม ทดไว้ในใจเลยว่า จะทำเป็นปากงับๆแบบตุ๊กตาพัพเพ็ต
จุกปลายไม้แขวนเสื้อก็พอดีเลย เป็นฟันได้ ได้ลูกโป่งมาอีก ต้องมาเป่าแน่นอน ฝาแบรนด์
ก็ให้เป็นตา แต่กระดิ่งไม่ได้ใช้ทำอะไร
พอดีวันนั้น เราโด๊ปแบรนด์มา เลยมีกล่องแบรนด์ติดมาด้วย
มีประโยชน์มาก! เพราะขวัญเลยเติมเข้าไป ทำเป็นหนวดทั้งสองข้าง
ตัวนี้ทำเปเปอร์มาเช่ทั้งหมดเลย ฝาแบรนด์ทำยากมาก โค้งเยอะ

เลยให้ฟิกเกอร์ตัวนี้เป็นฟิกเกอร์ฟันหลอเพราะเคี้ยวหมากฝรั่ง
แถมเรา(ผู้เล่น)ยังเป่าลูกโป่งได้อีกด้วย เท่ห์มาก ปฎิบัติ!